บทที่
2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรื่องการศึกษาวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ตอนกำเนิดทศกัณฐ์ศึกษาได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ดังนี้
1. ความหมายของวรรณคดีไทย
2. ประวัติผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์
3. ลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีรามเกียรติ์
วรรณคดี หมายถึง
วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่
6
วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า
สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจมีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ
เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้เพราะสามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นรู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร
ประวัติผู้แต่งเรื่องรามเกียรติ์ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี
ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์
องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์
สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ
ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์
ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ
คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร
พระพุทธเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2310
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชสมภพ ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม
พระนามเดิม ฉิม
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์และทรงได้รับการสถาปนาพระยศเป็น
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อปี พ.ศ.2325
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมี พระราชโอรส - พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 73
พระองค์ โดยประสูติเมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
47 พระองค์ ประสูติเมื่อดำรงพระอิสรยยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล 4 พระองค์
และประสูติภายหลังบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว 22 พระองค์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรด้วยโรคพิษไข้
ทรงไม่รู้สึกพระองค์เป็นเวลา 8 วัน พระอาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามลำดับ
และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริรวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา
และครองราชสมบัติได้ 15 ปี
ลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีรามเกียรติ์ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนบทละคร
และบอกชื่อเพลงหน้าพาทย์ไว้ด้วย ต้นฉบับบทละครเรื่องนี้เป็นสมุดไทยดำ
ตัวหนังสือเป็นเส้นทอง มีจำนวน ๔ เล่มสมุดไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น